ปัจจุบัน Blockchain ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือเรียกอีกอย่างก็คือ Blockchain Layer 1 นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายๆ เชน จนทำให้ผู้ใช้งานต่างพากันสับสน ไม่มีมาตรฐาน กฏเกณฑ์กำกับเป็นรูปแบบเดียวกัน แต่ละเครือข่ายบล็อคเชนก็สร้างเป็นอาณาจักรของเชนตัวเอง เช่น เชน Ethereum แอปพลิเคชั่นที่พัฒนาบน ETH ก็จะสามารถใช้ Token ได้ในเชนนี้เชนเดียว ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดปัญหาที่ผู้ใช้อยากจะไปใช้ Token ต่างเชนจึงมีข้อจำกัด ซึ่งไม่สามารถทำงานร่วมกันระหว่างเชนได้
การแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันข้ามเชนจึงมีไอเดียก็คือ Cross-chain ซะเลย บริดจ์ Token ข้ามเชน เพื่อนำไปใช้งานอีกบล็อคเชน ตัวอย่างที่ได้รับความนิยมคือ Wrapped Bitcoin (WBTC) เพื่อแปลง Bitcoin ให้เป็นมาตรฐาน ERC-20 นำมาใช้บนเครือข่าย Ethereum เป็นต้น เราจึงได้เห็นจำนวนเหรียญเกิดขึ้นมามากมาย เช่น weETH, cETH, aETH, cyETH, aETHc เป็นต้น
จำนวนสินทรัพย์ หรือ TVL บน Blockchain Layer 1 ส่วนใหญ่จะอยู่ใน Ethereum แต่การเกิดขึ้นของ Blockchain Layer 1 อื่นตามมาอีกมามายก็ทำให้จำนวนสินทรัพย์กระจายไปยังเชนอื่นๆ จึงเกิดแนวคิดในการให้ทุกเชนสามารถทำงานร่วมกันได้ ชื่อว่า Multi-Chain
![]() |
ที่มา-https://defillama.com/chains |
แล้ว Cross-chain กับ Multi-Chain แตกต่างกันอย่างไร
My argument for why the future will be *multi-chain*, but it will not be *cross-chain*: there are fundamental limits to the security of bridges that hop across multiple "zones of sovereignty". From https://t.co/3g1GUvuA3A: pic.twitter.com/tEYz8vb59b
— vitalik.eth (@VitalikButerin) January 7, 2022
The Ronin bridge has been exploited for 173,600 Ethereum and 25.5M USDC.
— Ronin (@Ronin_Network) March 29, 2022
The Ronin bridge and Katana Dex have been halted.
แต่สิ่งที่ Polkadot และ Cosmos กำลังทำอยู่นั้น เรียกว่า Multi-chain หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การไปอยู่ตำกว่า Layer-1 จึงถูกเรียกว่า Layer-0 สมมุติ Blockchain Layer-1 เป็นถนน Layer-0 ก็จะเปรียบเหมือนพื้นดินที่สร้างถนนให้มีเส้นทางเชื่อมกันบนพื้นดินเดียวกัน หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่า Internet of Blockchains การทำให้บล็อกเชนติดต่อสื่สารกันได้นั่นเอง
Cosmos Network
Cosmos ชูโรงด้วยการจะเป็น “Internet of Blockchains” และขณะนี้ได้ดึงดูด DApps กว่า 260 ตัวเข้าสู่ Blockchain Cosmos เพราะมี Inter-Blockchain Communication (IBC) ควบคู่ไปกับ Cosmos Software Development Kit (SDK) ให้กับนักพัฒนาเพื่อเปิดใช้ cross-chain bridges ระหว่างบล็อกเชนกับ Ethereum Virtual Machine (EVM) มีซึ่งมี chain ใหญ่ๆใช้อย่าง : Binance Smart Chain, Polygon, Avalanche นอกจากนั้น Terra chain ก็ยังอยู่ใน IBC เช่นเดียวกัน
![]() |
ที่มา-Delphi Digital |
โครงสร้างของ Cosmos Network ประกอบไปด้วย
1.Zone คือ ‘โปรเจค dApps’ หรือ ‘Blockchain’ ที่สร้างขึ้นจากการใช้ Cosmos SDK และ Tendermint ในกรณี Blockchain อื่น ๆ ที่ไม่ได้สร้างบน Cosmos สามารถเชื่อม dApps ได้ผ่าน Peg-Zone (เช่น BTC และ ETH)
2.Hub ทำหน้าที่เชื่อมแต่ละ Zone เข้าด้วยกัน เพื่อให้ Zone ทำงานด้วยกันได้ง่าย ไม่จำกัดจำนวน Cosmos hub เป็น Hub แรก ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่าง ทำงานด้วยระบบ Proof of Stake โดยใช้ ATOM เป็น transaction fee หากไม่ต้องการสร้าง Hub เองสามารถนำ Zone มาเชื่อมต่อกับ Cosmos Hub ได้เลย Zone นั้นๆก็จะสามารถทำงานร่วมกับ Zone อื่นๆใน Hub เดียวกันได้
![]() |
ที่มาภาพ cryptoseq |
Polkadot Network
![]() |
ที่มา-Messari |