Terra (LUNA) ถือเป็น 1 ใน 10 สุดยอดคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งเมื่อปีที่แล้วถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก เนื่องจากมูลค่าตลาดขึ้นแท่นมาเป็นอันดับที่ 9 เกิดอะไรขึ้นจึงทำให้ LUNA มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และเป็นเหรียญที่น่าลงทุนอยู่หรือไม่ มาติดตามกันครับ
{tocify} $title={Table of Contents}
Terra (LUNA) คืออะไร
Terra (LUNA) เริ่มต้นในปี 2018 ด้วยการระดุมทุนกว่า 1,072 ล้านบาทจากแพลตฟอร์มคริปโตชื่อดังต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งเหรียญคริปโตที่มีอัตราการเติบโตสูงในทุก ๆ ปี นับตั้งแต่วันแรกของการเปิดตัว มีเป้าหมายเพื่อสร้างเหรียญกลุ่ม Stable Coin โดยใช้ระบบ Algorithmic ซึ่ง Stablecoin ถือว่า พระเอกของเชน Terra เลยก็ว่าได้ หลักการของ Algorithmic คือใช้ LUNA เป็นหลักประกันด้วยวิธี Elastic supply หากว่า UST ที่เป็น Stablecoin ของ Luna มีความต้องการมากขึ้นจากการใช้งานมากขึ้น Luna จะถูกเบิร์นเพื่อไปสร้าง UST ให้สมดุลกับความต้องการ แต่หาก UST มีความต้องการใช้น้อยลง UST ก็จะถูกเบิร์นออกกลับเป็น Luna เพื่อเพิ่มราคาและให้ราคากลับมาตรึงอยู่ 1USD นั้นเองละครับ
ในปัจจุบันแบงค์ชาติเกาหลีอนุญาตให้ทดลองใช้ stable coin ชื่อ KRT (ย่อมาจาก Terra KRW) ผ่านแอปมือถือ (DApp) ที่ชื่อว่า CHAI ซึ่งเป็นที่นิยมในเกาหลีใต้อย่างมาก เนื่องจากไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้จ่าย จากสถิติมีผู้ลงทะเบียนเพิ่มกว่า 63,000 คนต่อวัน และ มีผู้ใช้งานแล้วรวมมากกว่า 2.5 ล้านคน
Ecosystem สำคัญของ Terra Chain
•Anchor Protocol แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่คล้ายธนาคารโดยเปิดให้นักลงทุนนำเงินไปฝากหรือกู้ยืม ไม่มีกำหนดขั้นต่ำ เพื่อรับดอกเบี้ยสูงถึง 19-20% สามารถถอนได้ตลอดเวลา โดยเหรียญที่นำไปทำธุรกรรมนั่น จะเป็นเหรียญ Stablecoin โดยดอกเบี้ยที่ได้รับไม่ผันผวนมากเท่าแพลตฟอร์มบนบล็อกเชนอื่นๆ เพราะเป็นเหรียญ UST ซึ่งได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกเป็นอย่างมาก
• Mirror Protocol เหมือนตลาดหลักทรัพย์ เป็น แพลตฟอร์มหุ้นในโลกคริปโต มีหุ้นบริษัท tech หลักๆอย่าง Tesla, Alibaba, Google และ Twitter และสามารถให้ผู้ใช้งานร่วม vote เพื่อนำหุ้นตัวใหม่ๆเข้ามาในแพลตฟอร์มได้จนในปัจจุบันมีหุ้น และดัชนีกองทุนรวมกันมากถึง 22 ตัว เรียกได้ว่าเป็นกระดานเทรดหุ้นแห่งเดียวในโลกคริปโตเลยก็ว่าได้ และ ค่าธรรมเนียมค่อนข้างถูก ผนวกกับได้รับผลตอบแทนสูงทำให้ขยายฐานผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วจนปัจจุบันมียอดเทรดมากกว่าวันละ 10 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3 ร้อยล้านบาท
และยังมีอีกหลายโปรเจกต์ที่ทาง Terra ได้ทำร่วมกับเชนอื่น อย่างเช่น Soluna เป็นแพลตฟอร์มที่เราสามารถฝาก UST ใน Soluna บน Terra เพื่อได้รับ solUST บน Solana เพื่อเอาไปฟาร์มต่อได้ หรือ Terra จับมือกับ Avalanche ให้สามารถใช้ UST เป็นสกุลเงินของเชนได้ ทำให้ Terra LUNA เป็นเสมือนพันธมิตรมากกว่าคู่แข่งของทั้ง SOL และ AVAX ยิ่งมีการใช้ UST มากก็จะยิ่งส่งผลดีต่อ LUNA นั้นเอง
นอกจากนั้นในอนาคตกำลังจะมีโปรเจกต์ Metaverse อย่าง TerraWorld เกี่ยวกับ virtual work สำหรับ business มากกว่า GameFi เป็น Metaverse ที่อยู่บน Terra Chain ผู้ใช้งานสามารถสร้าง avatar เฉพาะของตัวเองได้ และก็จะรองรับ Terra Chain wallet เช่นกันทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึง Digital Asset ที่อยู่บน Terra Chain ได้เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่างๆที่เกิดบน Terra Chain เช่น Airdrop และกิจกรรมทางสังคมหรือเชิงพาณิชย์อื่นๆ ก็อาจจะย้ายมาใช้บน TerraWorld หมด ซึ่งในอนาคตถ้ามี User และการใช้งานจริง อาจจะเกิด Demand อย่างมหาศาล ส่งผลดีต่อ LUNA อย่างแน่นอน
ความเสี่ยงหลักของ LUNA
เหรียญ Luna ถือเป็นเหรียญที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีโปรเจคที่ดีแค่ไหน แต่ก็ยังต้องมาพร้อมกับความเสี่ยง หากสังเกตจะเห็นว่าเงินในระบบของเชน Terra ถูกแปลงไปเป็น UST มากกว่า 60% บนแพลตฟอร์ม Anchor Protocol เพื่อรับดอกเบี้ย กลไกการรักษาราคาของ UST - LUNA ขึ้นกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนส่วนใหญ่ ถ้าแพลตฟอร์ม Anchor Protocol ใน Terra Chain มีปัญหา ความเชื่อมั่นลดลง ราคา LUNA ตกอย่างหนักก็อาจจะทำให้ UST ไม่สามารถตรึงราคาเท่าดอลลาร์ได้ นักลงทุนก็อาจจะไม่นิยมใช้งาน เมื่อไม่เกิดการใช้ UST LUNA ก็จะมูลค่าลดลง หรือ Anchor ไม่สามารถแจกปันผลด้วยอัตราดอกเบี้ยประมาณ 20% ได้ตลอดไป เพราะจำนวนเม็ดเงินเข้ามาฝากจำนวนมาก ส่งผลให้เงินทุนสำรอง (Yield Reserve : UST) ที่เอาไว้จ่ายดอกเบี้ยจะค่อยๆหมดไป ไม่มี UST มาจ่ายปันผล แล้วถ้าวันหนึ่งเกิดหยุดจ่ายเปอร์เซนต์ผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินจะได้เท่าไหร่ แล้วถ้าหากเปอร์เซต์ต่ำกว่าตลาด คนก็อาจจะเทขาย UST เพื่อเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มอื่น หรือกรณีร้ายแรงที่สุดก็คือ Anchor Protocol โดน Hack ซึ่งอะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะโดนกันง่ายๆ
หมายเหตุ- บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน แต่มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ข้อมูลในบทความนี้ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน อาจจะมีข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจะเกิดขึ้นได้จากความไม่เข้าใจของผู้เขียน หรือความผิดพลาดของผู้เขียน นักลงทุนต้องทำการบ้านด้วยตัวเอง ตัดสินใจด้วยตัวเอง DYOR
ที่มา- (1) Varut Rintanalert | Facebook , (2) Coinman | Facebook